ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของคุณครูเสาวนา จันทรศรี ด้วยความยินดี

สื่อการเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ

องค์ประกอบของระบบนิเวศ
การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศแยกตามหน้าที่ในระบบ ได้แก่พวกที่สร้างอาหารได้เอง (autotroph) และสิ่งมีชีวิตได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น (heterotroph) อย่างไรก็ตามการจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศโดยทั่วไปมักประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic) และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic)
2.1 องค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่
2.1.1 ผู้ผลิต (producer or autotrophic) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ จากสารอนินทรีย์ส่วนมากจะเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลล์
2.1.2 ผู้บริโภค (consumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ (heterotroph) ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เนื่องจากสัตว์เหล่านี้มีขนาดใหญ่จึงเรียกว่า แมโครคอนซูมเมอร์ (macroconsumer)
2.1.3 ผู้ย่อยสลายซาก (decomposer, saprotroph, osmotroph หรือ microconsumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สร้างอาหารเองไม่ได้ เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา (fungi) และแอกทีโนมัยซีท (actinomycete) ทำหน้าที่ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วในรูปของสารประกอบโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กในรูปของสารอาหาร (nutrients) เพื่อให้ผู้ผลิตนำไปใช้ได้ใหม่อีก

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

ระบบนิเวศ


ระบบนิเวศ (ecosystem)
ระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในแหล่ง ที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต และระหว่าง สิ่งมีชีวิต กับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง โดยมีการถ่ายทอดพลังงาน และสารอาหารในบริเวณนั้นๆ สู่สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท
1. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) หรือปัจจัยทางกายภาพ (Physical Factor) ได้แก่ แสงสว่าง อุณหภูมิ น้ำและความชื้น กระแสลม อากาศ ความเค็ม ความเป็นกรด-เบส แร่ธาตุ ไฟแก๊ส
2. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) หรือปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic Factor)

แนวทางการบริหารจัดการความรู้


แนวทางการบริหารจัดการความรู้ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาได้ให้ความสำคัญ เรื่อง การบริหารจัดการความรู้ จึงได้จัดทำแนวทางและวางแผนการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กร โดยการศึกษาแนวทางการบริหารความรู้ขององค์กรวิเคราะห์บทบาทภารกิจของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา และจัดทำแนวทางการบริหารความรู้ในองค์กรขึ้น โดยได้กำหนดให้มีการดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน เรื่อง การบริหารองค์ความรู้ขึ้นมา ทำหน้าที่ในการพัฒนาและสนับสนุนการดำเนินงานการบริหารองค์ความรู้ภายในศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาซึ่งในการจัดการความรู้ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาได้กำหนดวิธีการดำเนินงานเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
(1) ขั้นตอนการเตรียมการ
(2) ขั้นตอนการดำเนินงาน
(3) ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล

slide